Sunday, January 26, 2014

2.11 ตรวจสอบ, พิมพ์ และแปลงไฟล์งาน

2.11 ตรวจสอบ, พิมพ์ และแปลงไฟล์งาน
การสร้าง Package ไฟล์งาน

การสร้าง Package เป็นคำสั่งที่ช่วยเหลือสำหรับการบันทึกไฟล์งานไปเปิดยังเครื่องอื่น หรือส่งงานเข้าโรงพิมพ์ เพราะ Package จะช่วยบันทึกไฟล์งาน, ฟอนต์ และลิงค์ไฟล์รูปภาพไปพร้อมๆ กันทั้งไฟล์ ก็ทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องลิงค์ต่างๆ แต่อย่างใด



การ Export เป็นไฟล์ PDF
            ไฟล์ PDF ถือว่าเป็นไฟล์ยอดนิยมสำหรับการส่งงานเป็นตัวอย่างให้ดู หรือจะส่งเข้าโรงพิมพ์เพื่อทำรูปเล่มก็ได้ ซึ่งขนาดของไฟล์ก็ขึ้นอยู่กับจำนวนหน้าและจำนวนรูปภาพที่ใช้ โดยให้เข้าเมนู File > Export แล้วทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้


การ Export เป็นไฟล์ EPS
            ไฟล์ EPS (Encapsulated Post Script) เป็นไฟล์ที่ใช้เปิดกับโปรแกรม Photoshop หรือโปรแกรม Illustrator คือ ใช้ได้ในรูปแบบบิตแม็พ หรือเวคเตอร์ก็ได้ โดยให้เข้าเมนู File > Export แล้วทำตามขั้นตอนดังนี้




การ Export เป็นไฟล์ JPEG
            ไฟล์ JPEG เป็นไฟล์รูปภาพมาตรฐานที่ใช้กันอยู่ทั่วไป สามารถเปิดดูได้บนทุกเครื่อง ไฟล์งานที่จะได้ถูกบันทึกหน้าละ 1 รูป ไฟล์มีขนาดเล็ก เหมาะกับการส่งเป็นตัวอย่างให้ดูทางอีเมล โดยให้เข้าเมนู File > Export แล้วทำตามขั้นตอนดังนี้









2.10 เติมสีสันให้ชิ้นงาน

2.10 เติมสีสันให้ชิ้นงาน
การเลือกลงสีให้ชิ้นงาน

            การเลือกสีมาใส่ชิ้นงานนั้น สามารถเลือกได้ 2 ทางหลักคือที่กล่องเครื่องมือ และคอนโทรลบาร์ แต่ที่ใช้ควบคุมว่าจะเลือกลงสีให้พื้นผิวหรือเส้นขอบจะอยู่ที่กล่องเครื่องมือ เรามาดูกันว่ามีวิธีลงสีอย่างไร
เพิ่มสีใหม่ที่ได้เก็บไว้ใช้งาน
            มาว่าคุณจะเลือกสีใหม่จาก Color Picker หรือเลื่อนแถบสไลด์ปรับค่าสีที่พาเนล Color ก็ตาม หากเป็นสีที่ใช้บ่อยแน่นอน ก็ควรบันทึกสีที่ได้เก็บไว้ โดยจะเก็บไว้ที่พาแนล Swatches ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้





สร้างสีใหม่ให้พาเนล
            จากรูปตัวอย่างจะเห็นว่าได้เลือกสีฟ้าซึ่งเป็นสีล่าสุดที่ใช้งานไว้ เมื่อสร้างสีใหม่จะยังคงติดค่าสีฟ้าไปด้วย ต้องดับเบิลคลิกข่องสีดังกล่าวเพื่อเข้าไปตั้งค่า




สร้างสี Tint Swatch
จะมีลักษณะไล่ระดับความเข้มจาก 100% ลงไปถึง 0% โดยให้เลือกสีที่จะใช้เป็นต้นแบบก่อน แล้วค่อยปรับค่า Tint ในภายหลังซึ่งสามารถสร้าง Tint ลดลงมาครั้ง 10-20% ก็ได้






สร้างสี Gradient
            สี Gradient คือสีที่มีการไล่ระดับระหว่าง 2 สี ค่าตรงกลางคือส่วนผสมที่เท่ากันทั้ง 2 สี เป็นคู่สีอีกรูปแบบที่นิยมใช้ในชิ้นงาน เนื่องจากให้สีที่ดูมีมิติมากกว่าสีพื้นเพียง 1 สี






วิธีการลงไล่ระดับสี
            การลงสีแบบ Gradient สามารถเลือกลงในพื้นผิว หรือเส้นขอบก็ได้ โดยในตัวอย่างนี้จะเป็นการลงสีไล่ระดับที่พื้นผิว มาดูกันว่ามีขั้นตอนอย่างไร





เพิ่มกล่องสีในพาเนล
            เราสามารถเพิ่มกล่องสีกี่กล่องก็ได้ตามที่ต้องการ โดยลากเอาสีที่จะใช้จากพาเนล Color หรือ Swatches มาปล่อยบนแถบสไลด์ได้เลย




สลับด้านกล่องสี
            หากต้องการสลับด้านกล่องสีจากซ้ายไปขวาและจากขวาไปซ้าย ก็ทำได้ง่ายๆ แค่คลิกปุ่ม Reverse Gradient เท่านั้น


เพิ่มองศาให้แถบสีเอียง
            ปกติค่าองศาของการไล่ระดับสีจะอยู่ที่ 0 องศา หากกรอกค่าองศาลงไปในช่อง Angle ก็จะทำให้แนวการไล่ระดับสีเปลี่ยนไปจากเดิม


ลงสีไล่ระดับในเส้นขอบ
            เราสามารถลงสีไล่ระดับในเส้นขอบชิ้นงาน (เส้นพาธ) ได้ เพียงแต่ต้องเพิ่มขนาดเส้นขอบให้หนาเพื่อให้มองเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น
ปรับแต่งความโปร่งแสงด้วย Transparency


เราได้ใช้ Transparencyกันมาแล้วในขั้นตอนการใช้งาน Effectแต่หัวข้อนี้เราจะมาตั้งค่าเกี่ยวกับ Transparency เพิ่มเติมด้วยการใช้ Blending Mode ซึ่งใช้ปรับสีชิ้นงานที่ ซ้อนทับกันโดยเฉพาะ ไปดูกันว่ามีรูปแบบการใช้งานอย่างไรบ้าง 



















2.9 การสร้างและปรับแต่งชิ้นงาน

2.9 การสร้างและปรับแต่งชิ้นงาน
สร้างเส้นตรงด้วย Line Tool

            Line Tool เป็นคำสั่งที่ใช้สร้างเส้นตรง ซึ่งจะได้ทิศทางตามการลากเมาส์ของเรา โดยปกติโปรแกรมจะตั้งค่าให้เราได้เส้นตรงสีดำมีความหนาของเส้นที่ 1 pt. แล้วจึงค่อยเปลี่ยนสีและเส้นขอบภายหลัง หรือจะตั้งค่าทั้งคู่ก่อนลากเส้นก็ได้


วาดรูปด้วย Pen Tool
            Pen Tool เป็นคำสั่งที่ใช้สร้างเส้นตรง หรือเส้นโค้ง โดยจะกำหนดให้เป็นเส้นเพียงช่วงเดียว หรือหลายๆ ช่วงต่อเนื่องกันก็ได้
            Pen Tool เขียนเส้นปลายเปิด
                        เส้นปลายเปิดคือเส้นเพียงช่วงเดียว หรือหลายช่วงต่อเนื่องกัน เพียงแต่จะไม่วนกับมาจบเป็นรูปทรงปิดที่จุดเริ่มต้นเท่านั้น


Pen Tool เขียนรูปทรงปิด
หากต้องการเขียนรูปทรงปลายปิด เราจะต้องลากเส้นต่อเนื่องจากจุดที่ 2 ไปจุดที่ 3,4 ตามรูปทรงที่ต้องการแล้วค่อยกลับมาคลิกปิดรูปทรงในจุดที่ 1 โดยให้สังเกตว่าเมาส์จะมีสัญลักษณ์วงกลมที่อยู่ปลายปากกาด้วย



Pen Tool เขียนเส้นโค้ง

เมื่อคลิกเมาส์วางจุดที่ 2 แล้ว ก็ยังไม่ต้องปล่อยเมาส์ ให้ลากเอแขนดัดความโค้งออกมาจากจุดแองเคอร์ (จุดวางที่ 2) เมื่อได้ความโค้งที่ต้องการแล้วให้ปล่อยเมาส์เพื่อเขียนจุดอื่นๆ ต่อไป




สร้างเส้นโค้งต่อเนื่อง
            จากตัวอย่างที่ผ่านเป็นการรวมกันระหว่างจุดแองเคอร์เส้นโค้งและจุดแองเคอร์เส้นตรง แต่หากทุกๆ ครั้งที่เราคลิกเมาส์วางจุดแองเคอร์แล้วลากแขนดัดเส้นออกมาด้วย ก็จะได้เส้นโค้งแบบต่อเนื่องไปเรื่อยๆ



จบการเขียนเส้นโค้ง
            จุดแองเคอร์ที่เป็นเส้นโค้งนั้น จะมีแขนดัดความโค้งออกมาจากจุดทั้ง 2 ข้าง หากปลายเส้นต่อไปต้องการทำเป็นเส้นตรง ต้องกับมาคลิกซ้ำที่จุดแองเคอร์สุดท้ายแล้วค่อยไปคลิกวางจุดอื่นก็จะได้เส้นตรงแล้ว


ยืด/หดแขนปรับความโค้ง
            ให้ใช้ Direct Selection Tool คลิดเลือกเส้นพาธบริเวณที่จะดัดเส้นโค้งให้ยืดหรือหด แล้วคลิดเมาส์บนจุดลายแขนแล้วลากเมาส์เข้า/ออก เส้นพาธโค้งตรงจุดนั้นก็จะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น



การเลือกจุดแองเคอร์
            จุดแองเคอร์คือจุดยึดระหว่างเส้นพาธทั้ง 2 ข้าง หากคลิกลงไปตรงๆ เพียงจุดเดียวก็จะเลือกได้ 1 จุด แต่ถ้าลากเมาส์ครอบผ่านก็อาจจะได้จุดแองเคอร์มากกว่า 1 จุด จากตัวอย่างนี้จะเป็นการลบจุดแองเคอร์ที่เลือก
เพิ่มจุดแองเคอร์ Add Anchor Point Tool
            Add Anchor Point Tool เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับเพิ่มจุดแองเคอร์ลงบนเส้นพาธ แล้วค่อยใช้ Direct Selection Tool คลิกเลือกเพื่อดัดเส้นพาธตามที่ต้องการ
ลบจุดแองเคอร์ Delete Anchor Point Tool
            Delete Anchor Point Tool เป้นคำสั่งที่ใช้ลบจุดแองเคอร์ออกจากเส้นพาธโดยให้คลิกหังปากกาลงบนจุดแองเคอร์ได้เลย
เปลี่ยนจุดแองเคอร์ Convert Anchor Point Tool
            Convert Anchor Point Tool เป็นคำสั่งที่ใช้คลิกค้างบนจุดแองเคอร์ที่เป็นเส้นพาธตรง แล้วลากเมาส์ดึงแขนปรับความโค้งออกมา ทำให้จุดแองเคอร์นั้นเป็นเส้นโค้ง
แต่งเส้นดินสอให้เรียบ Smooth Tool
            Pencil Tool ใช้สร้างสำหรับลากทับเส้นพาธดินสอที่เขียนไปแล้ว เพื่อให้เส้นนั้นมีความเรียบเนียนมากยิ่งขึ้น ซึ่งเส้นที่มีรอยยึกยักขรุขระมากให้ลองใช้ Direct Selection Tool คลิกดูก็จะพบว่ามีจุดแองเคอร์คือรอยต่อระหว่างเส้น และเมื่อใช้ Smooth Tool ลากทับผ่าน ก็จะกลายเป็นการลบจุดแองเคอร์ที่มากเกินไปออกไปบ้างตามการคำนวณของโปรแกรมทำให้เส้นนั้นดูเรียบกว่าครั้งแรก
ตั้งค่าออปชัน Smooth Tool
            เพื่อให้การปรับแต่งเส้นพาธที่ขรุขระให้เรียบเนียนมากยิ่งขึ้น ให้ดับเบิลคลิกที่ไอคอน Smooth Tool แล้วตั้งกว่าออปชันดังต่อไปนี้
ลบเส้นพาธด้วย Eraser Tool
            Eraser Tool ใช้สำหรับลบเส้นพาธทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นเส้นพาธจาก Pen Tool, Pencil Tool หรือเส้นพาธรอบชิ้นงานก็ลบได้ เพียงเลือกเส้นพาธนั้นด้วย Selection Tool ก่อนแล้วค่อยใช้ Eraser Tool ลากเมาส์ทับบนเส้นพาธ
เปลี่ยนความหนาเส้นพาธ
            ให้ใช้ Selection Tool หรือ Direct Selection Tool คลิกเลือกเส้นพาธที่ต้องการแล้ว เลือกค่าความหนาเส้นพาธที่ช่อง Weight
ปลี่ยนรูปแบบเส้นพาธ
            ปกติโปรแกรมจะกำหนดให้ใช้เส้นพาธเป็นลักษณะเส้นตรงต่อเนื่อง แต่เราสามารถเปลี่ยนไปใช้รูปแบบอื่นๆ ตามความเหมาะสมของงานที่ใช้ โดยกำหนดรูปแบบเส้นใหม่ได้ดังนี้
ต่อเส้นพาธเข้าด้วยกัน
            เป็นการต่อเส้นพาธปลายเปิดทั้ง 2 เส้นให้มีเส้นเชื่อมต่อถึงกัน สามารถใช้ได้ทั้งเส้นพาธเดียว หรือเส้นพาธที่เป็นรูปทรงปิด โดยเส้นที่เชื่อมต่อจะผนวกเป็นเส้นพาธเดียวกับชิ้นงานเดิมทันที
ล็อคชิ้นงานไม่ให้ใช้งานได้ (Lock)
            หากไม่ต้องการให้ชิ้นงานใดถูกคลิกเลือก ซึ่งอาจจะเสี่ยงต่อความเสียหายหากงานชิ้นนั้นตกแต่งเสร็จแล้ว ก็สามารถล็อคชิ้นงานนั้นไม่ให้คลิกเลือกขยับไปไหนได้
ตัดชิ้นงานซ้อนด้วยพาเนล Pathfinder
            พาเนล Pathfinder ใช้สำหรับตัด หรือเจาะชิ้นงานที่ซ้อนทับกันตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไป ซึ่งก็ให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันออกไป โดยเปิดพาเนลได้ที่เมนู Window > Object & Layout > Pathfinder โดยมีรูปแบบการตัด