2.10 เติมสีสันให้ชิ้นงาน
การเลือกลงสีให้ชิ้นงาน
การเลือกสีมาใส่ชิ้นงานนั้น
สามารถเลือกได้ 2 ทางหลักคือที่กล่องเครื่องมือ
และคอนโทรลบาร์
แต่ที่ใช้ควบคุมว่าจะเลือกลงสีให้พื้นผิวหรือเส้นขอบจะอยู่ที่กล่องเครื่องมือ
เรามาดูกันว่ามีวิธีลงสีอย่างไร
เพิ่มสีใหม่ที่ได้เก็บไว้ใช้งาน
มาว่าคุณจะเลือกสีใหม่จาก
Color Picker หรือเลื่อนแถบสไลด์ปรับค่าสีที่พาเนล
Color ก็ตาม หากเป็นสีที่ใช้บ่อยแน่นอน
ก็ควรบันทึกสีที่ได้เก็บไว้ โดยจะเก็บไว้ที่พาแนล Swatches ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
สร้างสีใหม่ให้พาเนล
จากรูปตัวอย่างจะเห็นว่าได้เลือกสีฟ้าซึ่งเป็นสีล่าสุดที่ใช้งานไว้
เมื่อสร้างสีใหม่จะยังคงติดค่าสีฟ้าไปด้วย
ต้องดับเบิลคลิกข่องสีดังกล่าวเพื่อเข้าไปตั้งค่า
สร้างสี Tint Swatch
จะมีลักษณะไล่ระดับความเข้มจาก 100% ลงไปถึง 0% โดยให้เลือกสีที่จะใช้เป็นต้นแบบก่อน แล้วค่อยปรับค่า Tint ในภายหลังซึ่งสามารถสร้าง Tint ลดลงมาครั้ง
10-20% ก็ได้
สร้างสี Gradient
สี
Gradient
คือสีที่มีการไล่ระดับระหว่าง 2 สี
ค่าตรงกลางคือส่วนผสมที่เท่ากันทั้ง 2 สี
เป็นคู่สีอีกรูปแบบที่นิยมใช้ในชิ้นงาน
เนื่องจากให้สีที่ดูมีมิติมากกว่าสีพื้นเพียง 1 สี
วิธีการลงไล่ระดับสี
การลงสีแบบ
Gradient
สามารถเลือกลงในพื้นผิว หรือเส้นขอบก็ได้
โดยในตัวอย่างนี้จะเป็นการลงสีไล่ระดับที่พื้นผิว มาดูกันว่ามีขั้นตอนอย่างไร
เพิ่มกล่องสีในพาเนล
เราสามารถเพิ่มกล่องสีกี่กล่องก็ได้ตามที่ต้องการ
โดยลากเอาสีที่จะใช้จากพาเนล Color หรือ Swatches มาปล่อยบนแถบสไลด์ได้เลย
สลับด้านกล่องสี
หากต้องการสลับด้านกล่องสีจากซ้ายไปขวาและจากขวาไปซ้าย ก็ทำได้ง่ายๆ แค่คลิกปุ่ม Reverse Gradient เท่านั้น
เพิ่มองศาให้แถบสีเอียง
ปกติค่าองศาของการไล่ระดับสีจะอยู่ที่
0 องศา
หากกรอกค่าองศาลงไปในช่อง Angle ก็จะทำให้แนวการไล่ระดับสีเปลี่ยนไปจากเดิม
ลงสีไล่ระดับในเส้นขอบ
เราสามารถลงสีไล่ระดับในเส้นขอบชิ้นงาน
(เส้นพาธ) ได้ เพียงแต่ต้องเพิ่มขนาดเส้นขอบให้หนาเพื่อให้มองเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น
ปรับแต่งความโปร่งแสงด้วย Transparency
เราได้ใช้ Transparencyกันมาแล้วในขั้นตอนการใช้งาน Effectแต่หัวข้อนี้เราจะมาตั้งค่าเกี่ยวกับ
Transparency เพิ่มเติมด้วยการใช้ Blending Mode ซึ่งใช้ปรับสีชิ้นงานที่ ซ้อนทับกันโดยเฉพาะ
ไปดูกันว่ามีรูปแบบการใช้งานอย่างไรบ้าง
No comments:
Post a Comment