Sunday, January 26, 2014

2.3 ทำงานกับไฟล์งานใหม่

2.3 ทำงานกับไฟล์งานใหม่
ทำงานกับไฟล์งานใหม่
            สำหรับในบทที่ 3 นี้ เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างไฟล์งานใหม่ การเปิดไฟล์งานการตั้งค่าต่างๆ สำหรับไฟล์งาน และพาเนลที่เกี่ยวข้องกับไฟล์งาน ซึ่งทั้งหมดผู้อ่านจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ให้เข้าใจ เพราะถึงแม้ว่าโปรแกรม In Design จะมีการตั้งค่าเอกสารเป็นจำนวนมาก แต่ก็สามารถเก็บบันทึกไว้ใช้ครั้งต่อๆ ไปได้ด้วย ดังนั้นหากกราฟิกอาร์ตเวิร์กท่านใดที่ต้องสร้างงานเอกสารสิ่งพิมพ์ใดๆ ก็ตามที่มีขนาดเท่ากันตลอดทุกเล่ม การตั้งค่าเพียงครั้งเดียวแล้วบันทึกเก็บไว้ใช้ก็จะช่วยประหยัดเวลา และก็ได้มาตรฐานต่อเนื่องเหมือนกันด้วย

สร้างไฟล์เอกสารใหม่

            ตัวอย่างนี้จะเป็นการสร้างไฟล์เอกสารใหม่พร้อมบันทึกค่าที่ได้กำหนดเก็บไว้ใช้ในครั้งต่อๆ ไปซึ่งวิธีนี้จะใช้ได้เฉพาะกับโปรแกรม In Design ที่ติดตั้งในคอมพิวเตอร์เครื่องนี้เท่านั้น เรามาดูกันว่าจะมีขั้นตอนและรูปแบบการสร้างไฟล์งานอย่างไรบ้าง



สำหรับผู้ที่เคยใช้งานโปรแกรมกราฟิกอื่นๆ ของ Adobe มาคงจะค่อนข้างประหลาดใจที่ต้องตั้งค่าหน้ากระดาษมากพอสมควร เรามาดูกันว่า แต่ละส่วนประกอบที่ต้องกำหนดค่ามีอะไรกันบ้าง

Document Preset         เลือกรูปแบบ Default (โปรแกรมกำหนดให้) หรือ Custom (กำหนดค่าเอง)
Intent                           เลือกรูปแบบหน้ากระดาษ โดยมีให้เลือก 3 แบบ ได้แก่ Print: สำหรับงานพิมพ์
            Web: สำหรับงานเว็บไซต์ และ Digital Publishing: สำหรับงานบน
            สมาร์ทโฟน/แท็บเล็ต
Number of Pages         กำหนดจำนวนหน้าในเอกสาร
Start Pages                  กำหนดเลขที่หน้าในเอกสาร
Facing Pages               คลิกเลือกเพื่อแสดงหน้าคู่ซ้ายขวา ถ้าไม่คลิกเลือกจะแสดงหน้าเดียว
Master Text Frame   ให้สร้างกรอบข้อความที่หน้ามาสเตอร์ (Master Page)
Page Size                     เลือกขนาดกระดาษ
Width                           กำหนดความกว้างหน้ากระดาษ
Height                         กำหนดความสูงหน้ากระดาษ
Orientation                  เลือกแนวการวางหน้ากระดาษเป็นแนวตั้ง (Portrait) หรือแนวนอน
                                    (Landscape)
Columns                      Number: กำหนดจำนวนคอลัมน์ใน 1 หน้ากระดาษ
                                    Gutter: กำหนดระยะห่างระหว่างคอลัมน์
Margins                        กำหนดระยะกั้นหน้าเอกสารจากขอบกระดาษจากด้านบน (Top) ด้านใน
                                    (Inside) ด้านล่าง (Bottom) และด้านนอก (Outside)
Bleed                            กำหนดระยะตัดตกของเครื่องพิมพ์ กล่าวคือ หากเราทำไฟล์งานให้ทั้งสี และวัตถุต่างๆ พอดีกับขอบหน้ากระดาษหากเครื่องตัดกระดาษตัดได้พอดีก็จะไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าเครื่องได้ตัดกระดาษเลยออกมาด้านนอกแม้เพียง 1 ม.ม. เราก็จะเห็นหนังสือเล่มนั้นมีเส้นสีขาวอยู่ด้านข้าง ดังนั้นเมื่อกำหนดค่า Bleed ออกมา คุณสามารถออกแบบให้ชิ้นงานเลยออกมาเกินขอบกระดาษได้ เมื่อตัดกระดาษเกินก็ยังคงเป็นสีและวัตถุที่ต่อเนื่องกันอยู่
Slug                               เป็นระยะที่อยู่ด้านนอกสุด ใช้สำหรับใส่ค่าแท่งสี ชื่องานชื่อผู้สั่งทำ วันที่ และเวลาเพื่อให้เกิดความเข้าใจเรื่อง Bleed และ Slug จะขอยกตัวอย่างรูปปรู๊ฟก่อนส่งไปยังโรงพิมพ์ โดยด้านซ้ายจะแสดงกรอบ Bleed และ Slug ให้เห็น ส่วนด้านขวาคือแบบจริง
กระดาษขนาดมาตรฐาน ขนาดกระดาษที่ใช้กันอยู่ทั่วไปสำหรับงานออกแบบกราฟิกมักจะเป็นขนาด A4 หรือ A5

เปิดไฟล์เอกสารที่บันทึกต้นแบบไว้
ในครั้งต่อไปหากต้องการใช้เอกสารที่มีขนาดและรูปแบบที่เคยบันทึกไว้อีกครั้ง ก็สามารถเปิด
ขึ้นมาโดยไม่ต้องตั้งค่าอะไรอีกเลย เหมาะกับคนที่ทำงานแบบใช้เอกสารเดิมซ้ำอยู่ตลอด จะช่วยให้ประหยัดเวลามากขึ้น 


แก้ไขไฟล์เอกสารต้นแบบ
ในกรณีที่ต้องการแก้ไขต้นฉบับไฟล์เอกสารที่บันทึกเอาไว้ สามารถใช้คำสั่ง Define แล้วบันทึกซ้ำ   แต่การแก้ไขนี้จะไม่เกิดผลกับไฟล์งานที่เคยทำไปแล้ว


ลบไฟล์เอกสารต้นแบบ
หากไม่ต้องการใช้ไฟล์เอกสารต้นฉบับที่ได้บันทึกไว้ใช้งานอีกต่อไป ก็ให้เข้าเมนู File > Document Presets > Define แล้วคลิกปุ่ม Delete ดังนี้

บันทึกไฟล์เอกสารต้นแบบไปใช้กับเครื่องอื่น
    เป็นการบันทึกไฟล์เอกสารออกมาให้เป็นในรูปแบบไอคอนไฟล์ ซึ่งสามารถนำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้โดยให้เข้า Fill > Document Presets > Define แล้วทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้




ตั้งค่าหน่วยวัดของไม้บรรทัด
ไม้บรรทัด (Ruler) เป็นเครื่องมือที่จำเป็นในการทำงานจัดหน้าเอกสาร เนื่องจากเรา ต้องดึงเส้นไกด์ออกมาจากไม้บรรทัดเพื่อกำหนดระยะทั้งแนวตั้งและแนวนอนให้กับวัตถุอีกทั้งยังใช้วัดระยะในหน้ากระดาษเพื่อให้ได้งานที่ถูกต้องก่อนส่งโรงพิมพ์ โดยในขั้นตอนนี้จะเป็นการตั้งค่าหน่วยวัดของไม้บรรทัดตามลักษณะงานที่ทำ

แก้ไขค่าหน้ากระดาษที่ทำงานอยู่
ในระหว่างที่กำลังทำงานอยู่ ถ้าต้องการแก้ไขรูปแบบกระดาษมาตรฐาน หรือปรับขนาดใหม่ด้วยตนเอง ให้ทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้




เพิ่มหน้าเอกสาร
 การทำงานเกี่ยวกับหน้ากระดาษไม่ว่าจะเป็นการเพิ่ม ลบทิ้ง ทำสำเนา หรือเปลี่ยนหน้า สามารถทำได้โดยผ่านทางเมนู Layout และผ่านทางพาเนล Pages ได้อีกด้วย ดังนั้นตัวอย่างการทำงานที่จะได้ทำตามในอีกหลายหัวข้อ จะต้องทำร่วมกับพาเนล Pages ด้วยมาดูกันว่าฟังก์ชันของพาเนลมีอะไรกันบ้าง



สลับหน้ากระดาษกัน
 จะเห็นในพาเนล Pages จะแสดงจำนวนหน้ากระดาษทั้งเอกสารให้เห็น เราสามารถคลิกลากเอาเอกสารใดก็ได้ไปวางแทนที่เอกสารแผ่นอื่น ซึ่งหน้าที่ถูกแทนที่ก็จะร่นลำดับลงไปวิธีนี้มีความสะดวกตรงที่สามารถย้ายทุกๆ ชิ้นงานในหน้านั้นไปได้พร้อมๆ
ย้ายหน้ากระดาษวางแบบต่อเนื่อง
 ตัวอย่างที่แล้วเป็นการนำเอาหน้ากระดาษไปวางแทนที่กัน แต่ตัวอย่างนี้จะเอาหน้ากระดาษที่เลือกไปวางต่อท้ายกับหน้ากระดาษที่มีอยู่แล้ว โดยในรูปตัวอย่างจะเห็นว่ามีเอกสารเป็นหน้าคู่อยู่ใน Spread เดียวกัน เราจะนำเอาหน้า 4-5 ไปวางคู่กับหน้า 2-3 กลายเป็น 1 Spread จะมีหน้ากระดาษต่อกัน 4 แผ่น (2-5) วิธีเพิ่มหน้าในลักษณะนี้เหมาะกับการทำแผ่นพับโบรชัวร์ที่เป็นหน้าพับต่อเนื่องกัน

แยกหน้ากระดาษให้เป็นหน้าเดี่ยว
วิธีนี้จะเป็นการแยกหน้ากระดาษที่ติดกันเป็นคู่ให้แยกออกมาวางเป็นหน้าเดี่ยวๆ โดยจะเป็นการเปลี่ยนแปลงเฉพาะหน้าที่เลือกเท่านั้น ไม่ได้เป็นการแก้ไขพร้อมกันทุกหน้าทั้งเอกสาร
 เปลี่ยนลักษณะกระดาษด้วย Page Tool
 Page Tool เป็นเครื่องมือที่ใช้ปรับแต่งลักษณะหน้ากระดาษเพียง 1 หน้า หรือหลายหน้าพร้อมกัน ไม่ว่าจะเป็น เปลี่ยนขนาดกระดาษมาตรฐาน กำหนดขนาดกระดาษเองหรือกำหนดแนวการวางหน้ากระดาษเป็นต้น จากตัวอย่าง จะเป็นการเปลี่ยนแนวการวางหน้ากระดาษจากแนวตั้งให้เป็นแนวนอน

เลื่อนหน้าผ่านเมนู Layout
         เมื่อเข้าเมนู Layout จะปรากฏทางเลือกย่อยย้ายไปยังหน้าที่ต้องการดังนี้
First Page              ไปยังหน้าแรกสุด       Next Spread           เลื่อนไป Spread แผ่นถัดไป
Previous Page        ไปหน้าที่ผ่านมา        Previous Spread   เลื่อนไป Spread แผ่นที่ผ่านมา
Next Page              ไปหน้าถัดไป             Go Back               ถอยหลังไปครั้งละ 1 หน้า
Last Page              ไปยังหน้าสุดท้าย     Go Forward          เลื่อนไปหน้าถัดไปครั้งละ 1 หน้า

 เลื่อนหน้าผ่านช่อง Page
 ที่ด้านล่างของกรอบหน้าต่างพื้นที่ทำงาน ในช่อง Pages จะแสดงหมายเลขที่มีในไฟล์ คลิกเลือกเพื่อย้ายไปยังหน้านั้น



เลื่อนหน้าผ่านปุ่มลูกศร
คลิกปุ่มลูกศรที่ด้านหน้าและด้านหลังช่อง Pages เพื่อไปยังหน้าที่ผ่านมา หรือถัดไปได้ครั้งละ 1 หน้า รวมทั้งยังใช้เลื่อนแผ่น Spread ได้ครั้งละ 1 แผ่นอีกด้วย


เลือกหน้าผ่านพาเนล Pages
ดังที่ได้บอกแล้วว่าพาเนล Pages จะแสดงหน้าเอกสารทั้งหมดในไฟล์ เพียงเลื่อนสกรอลบาร์ไปยังหน้าที่ต้องการแล้วดับเบิลคลิกเลือกเท่านั้น
 ก๊อปปี้เอกสารทั้งหน้า
คำสั่ง Duplicate ใช้สำหรับก๊อปปี้เอกสารที่เลือกให้เป็นหน้าใหม่อีก 1 แผ่น โดยที่วัตถุ รูปภาพ หรือตัวหนังสือก็จะถูกก๊อปปี้ขึ้นมาใหม่ด้วยเช่นกัน
ลบหน้าเอกสาร
เมื่อไม่ใช้หน้าเอกสารใดแล้ว ถ้าต้องการลบหน้านั้นทิ้ง ก็สามารถใช้คำสั่ง Delete Page ลบหน้านั้นทิ้งได้ โดยมีทั้งหมด 3 ทางเลือกดังนี้
ปุ่ม Option > Delete Page
    เลือกหน้าเอกสารที่ต้องการแล้วคลิกปุ่ม Option > Delete Page หน้าเอกสารนั้นก็จะถูกลบไป

\
ใช้ไอคอน Delete Selected Pages
ใช้งานง่ายเพียงคลิกหน้าเอกสารที่จะลบทิ้งแล้วลากเอาลงไปทับที่ไอคอน Delete Selected Pages หน้าเอกสารนั้นก็จะถูกลบทิ้งไปในทันที

เมนู Layout > Pages > Delete Pages
 วิธีนี้จะต้องเลือกหน้าเอกสารที่พาเนล Pages เสียก่อนแล้วค่อยเข้าไปใช้คำสั่งที่เมนู Layout


เลือกหน้าที่จะดู
 วิธีนี้เหมาะกับการข้ามไปดูหน้าที่ไกลกว่าหน้าที่กำลังใช้งานอยู่ จะได้ไม่ต้องเลื่อนดูหน้าด้วยสกรอลบาร์ หรือใช้เมนู Layout โดยมีขั้นตอนดังนี้


เปลี่ยนแนวการแสดงรูปในพาเนล
ปกติพาเนล Pages จะแสดงรูปหน้าเอกสารในแบบแนวตั้งตั้งแต่หน้าที่ 1 ไล่ลงมายังหน้าสุดท้าย แต่เราสามารถเปลี่ยนให้เรียงหน้าเอกสารในแนวนอนได้

ปรับคำสั่งต่าง ๆ ในพาเนล Pages
 เนื่องจากพาเนล Pages เป็นพาเนลที่สำคัญและควรเปิดใช้งานอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นจึงควรเรียนรู้การปรับแต่งค่าเกี่ยวกับพาค่าเกี่ยวกับพาเนลไว้ด้วย เพื่อให้ใช้งานได้ดียิ่งขึ้น





·       Pages              ปรับแต่งส่วนที่แสดงหน้าเอกสาร
Size                  ขนาดที่จะให้แสดง
Show Thumbnails         ให้แสดงรายละเอียดของหน้าเอกสาร
·       Masters            ปรับแต่ส่วนที่แสดงหน้าเอกสาร
Size                  ขนาดที่จะให้แสดง
Show vertically แสดงในรูปแบบแนวตั้ง
Show Thumbnailsให้แสดงรายละเอียดของหน้าเอกสาร
·       Icons               ปรับแต่งสัญลักษณ์หน้าเอกสาร
Transparency  แสดงหน้าชิ้นงานโปร่งใส
Spread Rotation           แสดงหน้าที่ถูกหมุน
Page Transition            แสดงรูปแบบทรานซิชันสำหรับเปลี่ยนหน้า
·       Panel Layout    ปรับแต่งการจัดวางหน้าเอกสารและหน้ามาสเตอร์
Pages on Top  ให้หน้าเอกสารอยู่บนหน้ามาสเตอร์
Masters on Top            ให้หน้าเอกสารอยู่บนหน้าเอกสาร
Resize              ปรับขนาดการแสดงหน้า

บันทึกไฟล์งาน
ไม่ว่าจะทำงานกราฟิกที่โปรแกรมใดก็ตาม สิ่งที่ควรนึกถึงและปฏิบัติโดยสม่ำเสมอก็คือ หมั่นบันทึกงานที่ทำเพราะเราไม่อาจรู้ได้ว่าจะมีไฟดับหรือไม่ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์เกิดเออเร่อกะทันหัน เมื่อยังไม่ได้บันทึกไฟล์ งานที่ทำไปทั้งหมดก็สูญเปล่าไปด้วย
             ข้อสังเกตง่าย ๆ ว่าไฟล์ใดยังไม่ได้บันทึกก็คือ ถ้าเป็นไฟล์งานใหม่ ชื่อไฟล์ก็คือ Untitled (ยังไม่มีชื่อ) หรือมีเครื่องหมายดอกจัน (*) กำลับอยู่หน้าชื่อไฟล์ เพียงกดแป้น Ctrl+S (Save) ก็บันทึกไฟล์งานได้แล้ว


บันทึกไฟล์งานใหม่ (Save)
เป็นการบันทึกไฟล์ใหม่ที่ใช้เปลี่ยนจาก Untitled ให้เป็นชื่อที่เราต้องการ โดยมีขั้นตอนดังนี้




บันทึกไฟล์งานแบบเปลี่ยนชื่อ (Save As)
คำสั่ง Save As จะใช้อยู่ 2 กรณี คือ ต้องการเปลี่ยนชื่อไฟล์งาน แต่ยังให้คงต้นฉบับไฟล์เดิมไว้ด้วย และแก้ไขงานเพิ่มเติมแล้วเปลี่ยนชื่อใหม่ โดยไฟล์งานเดิมก็ยังคงอยู่ด้วยเช่นกัน









No comments:

Post a Comment