2.5 สร้างสรรค์ตัวหนังสือ
สร้างตัวหนังสือด้วย Type Tool
Type Tool เป็นเครื่องมือที่ใช้พิมพ์ตัวหนังสือ
โดยเราจะต้องลากเมาส์กำหนดกรอบเฟรมตัวหนังสือก่อน แล้วจึงพิมพ์ข้อความลงไป
หดเฟรมด้วยคำสั่ง Fitting
เป็นวิธีง่ายที่สุด โดยเมื่อใช้คำสั่งแล้ว
ดปรแกรมจะหดเฟรมที่ใหญ่กว่าตัวหนังสือให้มาชนพอดีขอบทุกด้านของตัวหนังสือ
ก็จะได้ไม่ต้องใช้ Selection Tool ลากเมาส์กำหนดเอง
เลือกตัวหนังสือเฉพาะคำ
ในกรณีที่ต้องการแก้ไขเฉพาะคำ
หัดับเบิลคลิกวางเคอร์เซอร์ลงในคำนั้น โปรแกรมจะไฮไลท์คำด้วยแถบสีดำโดยอัตมัติ
เลือกตัวหนังสือทั้งหมด
ให้คลิกเมาส์วางเคอร์เซอร์หน้าตัวแรกแล้วลากเมาส์ครอบสร้างไฮไลท์ไปที่ตัวสุดท้าย
หรือจะคลิกติดกัน 4 ครั้งลงบนตัวหนังสือที่จุดใดก็ได้
โปรแกรมจะเลือกไฮไลท์ทั้งหมดให้เอง
คำสั่งต่างๆ ในพาเนล Character
คนที่เคยใช้โปรแกรม Photoshop
หรือ Illustrator ก็คงจะคุ้นเคยกับพาเนล Character
แน่นอน เพราะมีรูแบบการปรับแต่งตัวหนังสือที่คล้ายกัน
ลักษณะตัวหนังสือ
แต่ละฟอนต์ก็สามารถเปลี่ยนลักษณะได้เหมือนกัน
แต่ะจะมีอยู่ 4 แบบที่มีเหมือนกัน
โดยการใช้ลักษณะตัวหนังสือที่มีลูกเล่นเข้ามาตกแต่ง
จะทำให้งานสิ่งพิมพ์น่าสนใจมากขึ้น (Regular = รูปแบบปกติตามฟอนต์ที่เลือกใช้)
ขนาดตัวหนังสือ
การกำหนดตัวหนังแบบมาตรฐานงานสิ่งพิมพ์จะมีหน่วยที่เรียกว่า
Point (Pt.) ส่วนมากจะกำหนดอยู่ที่ 14-18 pt. สำหรับเนื้อหา
แต่ถ้าเป้นหัวข้อหลัก/รอง/ย่อย ก็เพิ่มขนาดตามความสวยงามและให้อ่านสบายตา
ระยะห่างบรรทัด
ปกติโปรแกรมจะตั้งระยะห่างระหว่างบรรทัดไว้ที่
Auto เป็นค่ามาตรฐาน
ซึ่งเมื่อพิมพ์ตัวหนังสือมากหลายบรรทัด ก็ควรปรับระยะห่างระหว่างบรรทัดให้อ่านได้ง่ายด้วย
ระยะห่างของตัวหนังสือ
ใช้แบ่งความกว้างช่องไฟระหว่างตัวหนังสือ
โดยการคลิกเคอร์เซอร์วางลงตรงกลางระหว่างตัวหนังสือแล้วกำหนดค่า
ปกติจะตั้งค่าอยู่ที่ Auto
ระยะห่างของตัวหนังสือในบรรทัด
เป็นการกระจายระยะห่างช่องไฟให้ตัวหนังสือทั้งบรรทัด
หรือเฉพาะที่ลากเมาส์ไฮไลท์ครอบเท่านั้น โดยปกติจะตั้งค่าอยู่ที่ Auto
ความสูงตัวหนังสือ
เป้นการยืด/หดตัวหนังสือในแนวตั้ง
ดดยปกติดจะตั้งค่าอยู่ที่ 100%
ถ้าใส่ค่าน้อยกว่าก็จะหดลงด้านล่าง แต่ถ้าใส่ค่ามากกว่าก็จะยืดขึ้นด้านบน
ความกว้างตัวหนังสือ
เหมือนกับการตั้งค่าความสูงตัวหนังสือ
โดยใส่ค่าน้อยกว่าก็จะแคบลง แต่ถ้าใส่ค่ามากกว่าก็จะกว้างมากขึ้น
กำหนดตัวยก/ตัวห้อย
ให้ไฮไลท์ครอบตัวหนังสือที่จะกำหนดค่า
ถ้า 0 pt. จะเท่ากับปกติ
(Baseline) ถ้าใส่ค่าลบจะเป็นตัวห้อย (Subscript) หรือเพิ่มค่าจะกลายเป็นตัวยก (Superscript)
เอียงตัวหนังสือ
ปกติตัวหนังสือจะตั้งตรงทำฉากกับแนวนอน
แต่ถ้าใส่ค่าองศาเพิ่มขึ้น จะทำให้ตัวหนังสือค่อยๆ เอียงตามค่าที่ใส่
โดยสามารถใส่ค่าเต็มได้ตั้งแต่ -85
ถึง 85
เปิด Option ปรับแต่งเพิ่มเติม
การปรับแต่งคุณสมบัติเบื้องต้นของตัวหนังสือยังไม่หมดแค่ที่หน้าพาเนลเท่านั้น
ยังมีรูปแบบที่น่าสนใจอีก โดยให้คลิกที่ปุ่ม Option แล้วเลือกรูปแบบที่ต้องการ
เปลี่ยนสีตัวหนังสือ
เพื่อเพิ่มความสวยงามให้แก่ตัวหนังสือที่ใช้งาน
ก็สามารถเปลี่ยนไปใช้สีสันอื่นๆ ได้โดยมีขั้นตอนดังนี้
นอกจากจะเลือกสีพื้นผิวผ่าน Fill ก็ยังเลือกผ่านพาเนล Color
และ Swatches หรือผ่านทางคอนโทรบาร์ก็ได้
เปลี่ยนสีและเพิ่มเส้นขอบให้ตัวหนังสือ
ความพิเศษของโปรแกรม
InDesign ที่ต่างจากโปรแกรม
PageMaker ก็คือ
สามารถเพิ่มสีความหนาเส้นขอบให้กับตัวหนังสือได้เหมือนกับโปรแกรมกราฟิกอย่าง Photoshop
หรือ Illustrator โดยมีขั้นตอนการทำงานดังนี้
แปลงตัวหนังสือให้เป็นชิ้นงานกราฟิก
คำสั่ง
Create Outlines ใช้สำหรับเปลี่ยนตัวหนังสือที่ทำงานผ่านเครื่องมือ
Type Tool ให้กลายเป็นชิ้นงานกราฟิกชิ้นหนึ่งเท่านั้น โดยตัวหนังสือที่จะเปลี่ยนเป็นกราฟิกจะต้องแน่ใจว่าได้พิมพ์ข้อความถูกต้องทั้งหมด
เนื่องจากเมื่อเปลี่ยนแล้วจะไม่สามารถพิมพ์ตัวหนังสือต่อจากข้อความนั้นได้อีก
จากนั้นค่อยเอาชิ้นงานไปตกแต่งผ่านเอฟเฟ็กต์ได้เหมือนกับชิ้นงานทั่วๆ ไปได้ทันที
ใส่สีพื้นหลังและเส้นขอบให้เฟรม
นอกจากจะใส่สีพื้นและเส้นขอบให้ตัวหนังสือแล้ว
เราสามารถใช้ Selection Tool คลิกเลือกเฟรมข้อความและลงสีพื้นหลังและเส้นขอบก็ได้เช่นกัน
หมุนเฟรมข้อความด้วย Rotate Tool
นอกจากนี้เรายังจะใช้เครื่องมือ
Rotate Tool
ที่ใช้หมุนวัตถุสิ่งของต่างๆ มาหมุนเฟรมข้อความด้วยก็ได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้
ย้ายข้อความบนเส้นพาธ
เราสามารถเลื่อนตัวหนังสือให้ไปวางยังจุดใดก็ได้ตามตำแหน่งที่เราเห็นสมควรของเส้นพาธ
โดยใช้ Selection Tool ดังนี้
พลิกข้อความบนเส้นพาธ
เป็นการพลิกกลับด้านให้กับตัวหนังสือบนเส้นพาธ
โดยต้องใช้ Selection Tool
คลิกเลือกเส้นไกด์กึ่งกลาง (จะตั้งฉากกับเส้นพาธ) แล้วลากลงมาด้านล่าง
ปรับแต่ออปชันเสริมให้ข้อความบนเส้นพาธ
โปรแกรมยังจัดให้มีออปชันเสริมสำหรับการจัดวางตัวหนังสือบนเส้นพาธในลักษณะต่างๆ
ให้เลือกใช้ถึง 5 แบบดังนี้
ลบข้อความออกจากเส้นพาธ
ในกรณีที่ต้องการยกเลิกตัวหนังสือบนเส้นพาธ
ให้เข้าไปที่เมนู Type > Type on a path >
Delete Type from Path จากนั้นก็จะเหลือแต่เส้นพาธเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
ตั้งแท็บให้เลขหน้า
ใช้ไอคอน
Right-Justified Tab คลิกลงบนไม้บรรทัด
โดยเลือกเส้นท้ายใกล้กับเส้นกั้นหลัง แต่ต้องแน่ใจว่าเหลือระยะพอที่จะใส่ตัวเลข
ใส่สัญลักษณ์ให้หัวข้อ
เป้นรูปแบบการเน้นความสนใจให้กับหัวข้อด้วยการใส่สัญลักษณ์
Bullets (จุด) หรือ Numbers
(ลำดับ) ลงที่หน้าหัวข้อโดยอัตโนมัติ ซึ่งมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
แทรกสัญลักษณ์พิเศษ
การแทรกสัญลักษณ์พิเศษในโปรแกรม
เป็นการเพิ่มสัญลักษณ์ที่ไม่มีบนแป้นพิมพ์คีย์บอร์ด เช่น เครื่องหมายลิขสิทธิ์ (Copy
Right) หรือเครื่องหมายการค้า (Trade Mark)
เป็นต้น
สร้าง Paragraph Styles ไว้ใช้งาน
เช่นเดียวกับการใช้งาน
Character Styles ก็คือ
เราจะต้องตกแต่งลักษณะพารากราฟไว้ให้เรียบร้อยตามที่ต้องการก่อน
จากนั้นจึงบันทึกพารากราฟเก็บไว้ที่พาเนล Paragraph Styles
โดยมีขั้นตอนการบันทึกสไตล์ดังนี้
No comments:
Post a Comment