Sunday, January 26, 2014

2.2 งค่าโปรแกรมก่อนการใช้งาน

2.1  งค่าโปรแกรมก่อนการใช้งาน
ส่วนประกอบของโปรแกรม InDesign CS6

            หากเทียบกับโปรแกรมอื่นๆ ในตระกลู CS6ด้วยกันจะเห็นว่า โปรแกรม InDesign ไม่ได้เปลี่ยนสีธีมโปรแกรมให้เข้มขึ้นเหมือนกับโปรแกรมอื่น นั่นก็เพราะว่า ผู้ผลิตต้องการให้การทำงานด้านเอกสารที่มีพื้นหลังเป็นสีขาวไม่สว่างจนเกินไปต่อผู้ใช้งาน จึงให้ธีมสีของโปรแกรมเป็นสีเทาทำให้กลมกลืนกับพื้นหลังที่เป็นสีขาวมากขึ้น 
A : Menu Bar
เมนูบาร์ เป็นที่รวบรวมคำสั่งทั้งหมดของโปรแกรมเอาไว้  โดยแต่ละเมนูก็จะถูกแยกรูปแบบการทำงานที่ต่างกันออกไป โดยมีทั้งสิ้น  9  เมนูดังนี้
File.......... รวบรวมคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับไฟล์งาน เช่น สร้างไฟล์ใหม่ เปิดไฟล์งานเดิมบันทึกไฟล์งาน ตั้งค่าหน้ากระดาษ หรือกำหนดคุณสมบัติไฟล์ เป็นต้น
Edit.......... รวบรวมคำสั่งที่ใช้สำหรับคัดลอกเพื่อทำสำเนาเพิ่ม วางชิ้นงานสำเนา ย้อนกลับไปการทำงานก่อนหน้านี้ รวมทั้งการตั้งค่าต่างๆ ที่มีผลต่อเนื่องไปยังทุกๆ ไฟล์งานด้วย
Layout..... รวบรวมคำสั่งที่ใช้กับการจัดหน้าไฟล์งาน เช่น เพิ่มหน้า ลบหน้า ก๊อปปี้หน้า รวมทั้งหารเลื่อนไปดูหน้าเอกสารต่างๆ ในไฟล์งาน
Type..........รวบรวมคำสั่งที่เกี่ยวกับตัวอักษรทั้งหมด
Object.......รวบรวมคำสั่งที่เกี่ยวกับการจัดการวัตถุที่นำมาใช้ในพื้นที่ทำงาน เช่น จัดลำดับวัตถุการรวมกลุ่ม/แยกกลุ่ม การซ่อนวัตถุ หรือการใส่เอฟเฟ็กต์เบื้องต้นให้กับรูปภาพที่นำมาใช้ก็ได้
Table.........กลุ่มคำสั่งที่ใช้สำหรับแทรกตารางลงในพื้นที่ทำงาน ตั้งแต่เริ่มต้นสร้างจนถึงการปรับแต่งตามที่ต้องการ
View.........รวบรวมคำสั่งที่ใช้จัดการมุมมองไฟล์งานให้มีความเหมาะสมตามต้องการรวมทั้งคำสั่งที่ใช้ควบคุมการทำงานของไม้บรรทัด เส้นไกด์ และเส้นกริด
Window...ใช้เปิด หรือปิดพาเนลที่ใช้งานในโปรแกรม หากมีเครื่องหมายถูกอยู่หน้าพาเนลใด แสดงว่าพาเนลนั้นได้ถูกเปิดใช้งานอยู่
Help...........เปิดดูคำอธิบายการใช้งานคำสั่งต่าง ๆ ของโปรแกรม
B : Control Bar
            คอนโทรลบาร์  คือ  แถบที่ใช้ปรับแต่งค่าให้กับเครื่องมือที่กำลังใช้งานอยู่ เช่น เมื่อคลิกไอคอนคำสั่ง Selection Tool โปรแกรมก็จะเปลี่ยนคอนโทรลบาร์ให้เกี่ยวกับการเคลื่อนย้าย หรือตำแหน่งบนหน้าจอ แต่พอไปคลิกที่คำสั่ง Type Tool คอนโทรลบาร์ก็จะเปลี่ยนไห้มาทำงานเกี่ยวกับตัวหนังสือแทน เป็นต้น
C : Tools Box
            ทูลบ็อกซ์ คือ ส่วนที่รวบรวมคำสั่งสำหรับหยิบจับวัตถุ วาดชิ้นงาน พิมพ์ตัวหนังสือลงสี ย่อ/ขยาย ปรับแต่งชิ้นงานเบื้องต้น ฯลฯ ให้กับชิ้นงานโดยทูลบ็อกซ์สามารถปรับตำแหน่งการแสดงไอคอนได้หลากหลายตามพื้นที่งานที่ทำ หรือขนาดจอมอนิเตอร์
เปิด/ยุบทูลบ็อกซ์
            ให้คลิกปุ่มลูกศรที่หัวของทูลบ็อกซ์เพื่อยุบให้แสดงไอคอนคำสั่งเพียง 1 แถว จะช่วยให้มีพื้นที่ทำงานเพิ่มอีกสำหรับหน้าจอมอนิเตอร์ที่ค่อนข้างเล็ก

ย้ายทูลบ็อกซ์
            วิธีจะคล้ายกับการย้ายคอนโทรลบาร์ โดยให้คลิกเมาส์ค้างที่หัวทูลบ็อกซ์แล้วลากเอาออกมาไว้ยังตำแหน่งที่ต้องการ หากจะย้ายกลับไปวางที่เดิมให้ลากไปวางทับขอบของโปรแกรมด้านซ้ายเท่านั้น
เปิดไอคอนคำสั่งที่ซ่อนอยู่
            ไอคอนคำสั่งใดมีสามเหลี่ยมอยู่ที่ด้านล่างแสดงว่ายังมีคำสั่งอื่นซ่อนอยู่อีก เมื่อคลิกเลือกคำสั่งที่ซ่อนขึ้นมาใช้งานที่ช่องนั้นจะแสดงไอคอนคำสั่งที่ใช้ล่าสุดค้างไว้ และที่ท้ายชื่อคำสั่งจะมีคีย์ลัดเพื่อใช้กดผ่านแป้นคีย์บอร์ดเข้าสู่ไอคอนคำสั่งได้โดยตรง ไม่ต้องเสียเวลามาคลิกที่ทูลบ็อกซ์ก็ได้
ปิดทูลบ็อกซ์
            เข้าไปที่เมนู Window แล้วคลิกปิดเครื่องหมายถูกที่ Tools แถบทูลบ็อกซ์จะถูกปิดไปถ้าจะเปิดให้คลิกเลือกเครื่องหมายถูกเท่านั้น
กลุ่มคำสั่งในทูลบ็อกซ์
จะเห็นว่าในทูลบ็อกจะมีเส้นขั้นแบ่งไอคอนคำสั่งไว้ซึ่งก็เป็นการแบ่งแยกประเภทกลุ่มคำสั่งที่มีหน้าที่ใกล้เคียงกันเอาไว้ด้วยกัน 
D : Panel
            พาเนล คือ กลุ่มคำสั่งที่ใช้ปรับแต่งคุณสมบัติเพิ่มให้กับคำสั่งที่ได้ใช้สร้างชิ้นงานไปแล้ว เช่น จัดลำดับหน้า เติมสีและปรับขนาดเส้นให้วัตถุ จัดลำดับเลเยอร์ หรือจัดการลิงค์เชื่อมโยงกับไฟล์รูปภาพ เป็นต้น เรามาดูกันว่ามีอะไรบ้างที่สามารถปรับแต่งการใช้พาเนลให้เหมาะสมกับการทำงานมากที่สุด

เพิ่มพาเนลใหม่
            การเปิดพาเนลเพิ่มเติมขึ้นมาวางบนโปรแกรมนั้น จะต้องคำนึงถึงความจำเป็นที่จะต้องใช้งาน เพราะถ้าหากหน้าจอมอนิเตอร์เล็กก็ไม่ควรเปิดขึ้นมามากจะทำให้บดบังพื้นที่การทำงานไปด้วย โดยการพาเนลใหม่ให้เข้าไปที่เมนู Window แล้วคลิกเลือกพาเนลที่ต้องการ
 รวมพาเนลกลุ่มเดียวกัน
            เนื่องจากโปรแกรมมีพาเนลให้เลือกใช้มากมาย หากต้องการใช้หลายๆ พาเนล จึงควรนำไปรวมกลุ่มกับพาเนลที่เปิดใช้งานไว้อยู่แล้ว จะได้ไม่ต้องมาเพิ่มกรอบพาเนล 2 แถวบดบังพื้นที่ทำงาน จากตัวอย่างจะนำพาเนล Effect เข้าไปรวมกับพาเนล Info


                                                                       


จัดลำดับพาเนลในกลุ่มเดียวกัน
            เพียงคลิกเมาส์ค้างที่ชื่อพาเนลแล้วเลื่อนไปทางซ้าย-ขวาในกลุ่มพาเนล ก็จะเป็นการเปลี่ยนลำดับการแสดงพาเนล จากตัวอย่างจะเลื่อนพาเนล Links ขึ้นมาไว้ด้านหน้าแทนพาเนล Pages และ Layers
เปิดออปชันปรับแต่งที่ซ่อนอยู่
            เมื่อนำพาเนลมาซ้อนรวมกันเป็นจำนวนมาก ออปชันการปรับแต่งของแต่ละพาเนลจะถูกซ่อนเนื้อหาไป หากจะเปิดออปชันของพาเนลนั้นออกมาใช้งาน ก็ให้ดับเบิลคลิกที่ชื่อพาเนลหรือ คลิกปุ่ม Option แล้วเลือก Show Options
ปิดพาเนลทีไม่ต้องการ
            หากมีพาเนลใดที่ไม่ต้องการเปิดให้เกะกะพื้นที่ทำงาน ก็ควรปิดพาเนลนั้น โดยลคิกที่ปุ่ม Close ด้านขวามือบนพาเนล
เปลี่ยนขนาดการแสดงผลในพาเนล
            บางพาเนลจะมีออปชันให้เลือกปรับแต่งเป็นเพียงช่องเล็ก ๆ เท่านั้น ซึ่งเราสามารถปรับขนาดของออปชันในพาเนลนั้นให้เหมาะกับการทำงานของเราใหม่ได้ จากตัวอย่างจะเป็นการปรับขนาดช่องสีของพาเนล Swatches
E : Status Bar
 สเตตัสบาร์ คือ แถบแสดงรายละเอียดจำนวนหน้าในไฟล์งานเพื่อเลือกข้ามไปยังหน้าที่ต้องการหรือไปยังหน้า Master Page เป็นต้น

    F : Document Board

            พื้นที่การทำงาน คือ พื้นที่การทำงานทั้งหมดของไฟล์นี้ จะตั้งค่าให้มีพื้นที่เป็นหน้ากระดาษขนาดใดก็ได้ปกติจะฝังอยู่กับกรอบของโปรแกรมแต่ก็สามารถลากย้ายออกมาก็ได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้     
                 

การแยกกรอบหน้าพื้นที่ทำงานออกมาในลักษณะนี้ เหมาะกับการทำงานหลายไฟล์พร้อม ๆ กัน โดยรูปแบบการจัดการหน้าต่างไฟล์งาน จะแสดงให้ทราบในหัวข้อถัดไป

เลือกสลับไฟล์งาน
            ในกรณีที่เปิดไฟล์งานขึ้นมาใช้มากกว่า 2 ไฟล์ มีอยู่ 3 วิธีที่ใช้สลับเลือกใช้ไฟล์งาน คือ
1.คลิกที่ชื่อกรอบไฟล์งาน 2. เข้าเมนู Window > เลือกชื่อไฟล์ และ 3. กดแป้น Ctrl+Tab




การเปิดไฟล์งานสลับไปมาจะทำให้ไม่เห็นไฟล์งานพร้อม ๆ กัน เราสามารถคลิกเมาส์ที่หัวกรอบไฟล์งานแล้วลากเอาออกมา ก็จะทำให้เห็นไฟล์งานพร้อม ๆ กัน
จัดเรียงพื้นที่ด้วย Arrange Document
            Arrange Document เป็นการเลือกรูปแบบการจัดเรียงกรอบไฟล์งานที่เปิดอยู่ให้แสดงพร้อมกัน ซึ่งวิธีนี้ไม่เหมาะกับหน้าจอมอนิเตอร์ขนาดเล็ก จากตัวอย่างเป็นการเรียงหน้าจอไฟล์งานทั้งสิ้น 3 ไฟล์
ก็อปปี้ไฟล์งานเพิ่มอีก 1 พื้นที่
            วิธีนี้เป็นการสร้างไฟล์งานขึ้นมาอีก 1 ชุด โดยจะมีชิ้นงานเหมือนกับไฟล์งานต้นแบบทุกประการ เหมาะกับการสร้างไฟล์สำรองจากงานต้นฉบับเพื่อป้องกันความผิดพลาด



เปิดไฟล์งานเดิมขึ้นมาอีก 1 กรอบ
            การทำงานอาจจะมีเอกสารอยู่หลายหน้า หากกำลังทำงานอยู่ในหน้าที่ 10 แต่ต้องเปิดดูข้อมูลในหน้าที่ 1 ดูด้วย การเลื่อนหน้าจออาจจะทำให้เสียเวลา หากใช้คำสั่ง Split Window โปรแกรมจะเปิดไฟล์งานเดิมขึ้นมาให้อีก 1 หน้าจอ เราก็เปิดหน้าที่ต้องการดูค้างไว้การทำงานในกรอบใดก็ตาม จะส่งผลต่ออีกกรอบหนึ่งด้วย เนื่องจากเป็นไฟล์งานเดียวกัน แต่โปรแกรมจำลองขึ้นมาให้ดูเท่านั้น

รูปแบบการแสดงผลไฟล์งาน
            ปกติโปรแกรมจะตั้งค่าการแสดงผลไว้ที่ Normal คือแสดงให้เห็นเส้นไกด์ทุกอย่างทั้งหมด เป็นมุมมองที่ทำงานจริง แต่ก็ยังมีอีก 4 รูปแบบให้ได้เลือกใช้ตามความเหมาะสมของงานที่กำลังจะทำ โดยมีวิธีเข้าสู่การแสดงผล 2 ทางดังนี้


Normal
เป็นการแสดงหน้าต่างการทำงานในแบบปกติเป็นค่าเริ่มต้นที่โปรแกรมตั้งมาให้ใช้งานโดยจะแสดงให้เห็นวัตถุทุกอย่างในพื้นที่ รวมทั่งเส้นไกด์ เส้นรอบวัตถุ ไม้บรรทัด และพื้นที่สีขาวรอบๆ หน้ากระดาษ


Preview
            แสดงเฉพาะขอบเขตที่จะพริ้นต์งานออกมาเท่านั้น พื้นที่รอบนอกจะกลายเป็นสีเทา ก็คือพื้นที่เหล่านี้จะไม่ถูกพริ้นต์ออกมาด้วยนั่นเอง

Bleed
            เหมือนกับรูปแบบ Preview แต่จะแสดงพื้นที่ขอบตัดตกของหน้ากระดาษที่ได้ตั้งค่าตั้งแต่ตอนสร้างไฟล์งานใหม่ให้เห็นไว้ด้วย
Slug
            เป็นรูปแบบที่แสดงพื้นที่การทำงานจริงที่จะสั่งพิมพ์ในโรงพิมพ์ โดยจะแสดงพร้อมพื้นที่ตัดตก (Bleed) ให้เห็นด้วย
ปิดไฟล์งาน
            เมื่อไม่ได้ใช้งานไฟล์ใดแล้ว ก็สามารถปิดเฉพาะกรอบไฟล์งานนั้นไปได้ โดยที่ยังทำงานในไฟล์อื่น ๆ ต่อ เพียงแค่คลิกปุ่ม Close ที่ท้ายชื่อไฟล์งานเท่านั้น


กลับคืนค่า Workspace เดิม
            ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ Workspace ใดก็ตาม หากเปิดพาเนลขึ้นมามากหรือจัดวางคอนโทรลบาร์กับทูล บ็อกซ์ผิดตำแหน่ง ถ้าจะต้องมาปิดและจัดเรียงความยุ่งเหยิงบนหน้าจออาจจะทำให้เสียเวลา ก็สามารถใช้คำสั่ง Reset เพื่อกลับไปยัง Workspace เดิมที่ใช้งานในก่อนหน้านี้



สร้าง Workspace ใหม่
            หากเรามีการจัดวางเครื่องมือ และพาเนลที่ใช้บ่อย ๆ ตามที่ต้องการแล้ว ก้สามารถบันทึกรูปแบบการจัดวางดังกล่าวเก็บไว้ใช้ได้ต่อเนื่อง
ลบ Workspace ทิ้ง
            หากมี Workspace ใดที่ไม่ใช้งานแล้ว ก็สามรถทิ้งไปได้ แต่จะลบได้เฉพาะ Workspace ที่เราสร้างเองเท่านั้น ไม่สามารถลบของโปรแกรมได้ โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้



การใช้เมนู View
            ในเมนู View จะมีคำสั่งปรับมุมมองอยู่ 6 แบบ โดยแบบที่ใช้เป็นประจำก็คือ Zoom In : ขยายขึ้น 1 เท่า และ Zoom Out : ย่อลง 1 เท่า ส่วนทางเลือกอีก 4 รูปแบบ
ใช้เครื่องมือ Zoom Tool
            Zoom Tool เป็นเครื่องมือที่ใช้ขยาย และย่อพื้นที่ทำงาน วิธีขยายมี 2 แบบคือ
1.คลิกเมาส์ลงบนพื้นที่ทำงาน จุดนั้นจะถูกขยายขึ้น 1 เท่า และ 2.คลิกแล้วลากเมาส์ครอบบริเวณที่ถูกลากครอบก็จะถูกขยายขึ้นมา



ถ้าจะใช้เครื่องมือ Zoom Tool ย่อพื้นที่ทำงานลง ให้กด แป้น Alt ค้างไว้ เมาส์จะกลายเป็นเครื่องหมายลบ แล้วคลิกบริเวณที่ต้องการย่อได้ทันที


ตั้งค่าคีย์ลัดเอง
            เราสามารถกำหนดคีย์ลัดใหม่หรือจะสร้าง Set เป็นกลุ่มคีย์ลัดส่วนตัวเองก็ได้









1 comment:

  1. ขอขอบคุณมากๆ ที่เอื้อเฟื้อขอมูล

    ReplyDelete